บทที่
2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
รายงานเรื่อง การศึกษาประเภทและประโยชน์ของผักสวนครัวผู้จัดทำได้มีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.ประเภทของผักสวนครัว
2.ชนิดของผักสวนครัว
3.ส่วนต่างๆของผักที่สามารถรับประทานได้
4.ผักสวนครัวบางชนิดที่รักษาโรค
5.ประโยชน์ที่ได้รับจากปลูกผักสวนครัว
ประเภทของผักสวนครัว
การแยกประเภทของผักสวนครัวนั้น
เราสามารถแยกออกได้ตามประโยชน์และการนำมาใช้งานด้านการปรุงอาหาร โดยแบ่งผักออกเป็นสามประเภทดังนี้
1.ผักที่เรารับประทานต้น
ใบ ยอด ซึ่งได้แก่ ผักบุ้ง ผักคะน้า ตำลึง
กะหล่ำดอก กะหล่ำปีผักกาดเขียว ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักตั้งโอ๋ ผักชี หอม เป็นต้น
2.ผักที่เรารับประทานผล
ผัก และหัวซึ่งได้แก่ มะเขือ มะเขือพวง พริก ถั่วแขก ถั่วพู ถั่วฝักยาว ฟัก
แฟง น้ำเต้า แตงกวา
ฟักทอง บวบ แครอท เผือก เป็นต้น
3.ผักที่เราสามรถใช้ชูรส
ได้แก่ มะกรูด มะนาว สะระแหน่ ยี่หว่า ข่า ตะไคร้ โหระพา กระเพรา
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่นิยม ปลูกผักสวนครัวเอาไว้รับประทานเอง
ก็มักจะเลือกปลูกผักไว้หลายๆประเภท
คละเคล้ากันไปตามความต้องการและความต้องการ และความนิยมในการรับประทาน
แต่ก็ใช่ว่านึกอยากปลูกชนิดไหนก็ซื้อเมล็ดพันธุ์มาปลูกได้เลย เพราะผักแต่ละชนิดก็มีความต้องการพื้นฐานในการปลูกต่างกัน ดังนั้น
การปลูกผักเอาไว้ในรั้วบ้านก็ควรมีการวางแผนปลูกเอาไว้ก่อน
ชนิดของผักสวนครัว
ผักสวนครัวเป็นกลุ่มของพืชผักล้มลุกที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น
มักปลูกตามครัวเรือนหรือแปลงปลูกผักขนากใหญ่เพื่อการค้า โดยมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีผลผลิตตามต้องการซึ่งชนิดของผักสวนครัวได้แก่
ผักกาดขาว กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักชี ผักบุ้ง ผักคะน้า พริก กระเพรา โหระพา แมงลัก
ผักกวางตุ้ง กระเทียม หัวหอม หอมหัวใหญ่ หอมแดง แตงกวา ถั่วฝักยาว ขิง ข่า พริกไทย
กระชาย ตะไคร้ ขมิ้น มะเขือได้แก่
มะเขือเทศ มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือเคื่อน เป็นต้น
ส่วนต่างๆของผักที่สามรถรับประทานได้
ผักสวนครัวที่รับประทานอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้มาจากใบของผักอย่างเดียวแต่ยังมาจากส่วนต่างๆเกือบทุกส่วนของผักเช่น
ราก ใบ ดอกแต่เราต้องแยกว่าผักชนิดไหนกินส่วนไหนของผักได้บ้าง
และส่วนไหนที่นำมารับประทานไม่ได้ เช่น กระเพรา โหระพา
ส่วนใบที่สามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ ผักชี ผักชีใบเลื่อย
ก็สามารถรับประทานได้ทั้งต้น ส่วนรากของผักชีก็ยังสามารถนำไปทำน้ำซุบได้ พริก
ส่วนที่รับประทานได้คือผล และยังมีผักอีกหลากหลายชนิดที่สามารถรับประทานได้ทุกส่วน
แถมยังมีวิตามินแร่ธาตุอีกด้วย
ผักสวนครัวบางชนิดที่รักษาโรค
ผักบางชนิดที่รักษาโรคของคนเราได้มีหลายชนิดที่สามารถหาได้ในครัวเรือนเช่น
กระเพรา กระเทียม กระชาย ข่า ขมิ้น และอื่นๆอีกมากมาย
กระเพรา สรรพคุณ ดอก ใบ กิ่ง ใช้ปรุงเป็นยาบำรุงธาตุ
แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว ช่วยขับลม ใช้ผายลมและเรอออกมา
ใช้ปรุงผสมกับสมุนไพรอื่นๆเป็นยาเขียว ยาลมได้
กระชาย สรรพคุณ
ตำหรับยาใช้หัวปรุงแก้อาการปากเปื่อย
ปากเป็นแผล ปากแตกแห้ง ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ใจคอหวาดผวา แก้ปวดท้อง
จุกเสียด บำรุงกำลัง บำรุงน้ำได้ดี ขมิ้น
ช่วยขับระดูสำหรับสตรีที่มีกลิ่นเหม็น และเลือดจับกันเป็นก้อนดำจะช่วยละลายให้แตกเป็นลิ่มๆออกมา
สามารถฝนหยอดตาแก้อาการตาแดง ตาเปียก ตาแฉะมีขี้ตา และยังใช้ดมแก้หวัดขับเสมหะในลำคอได้อีกด้วย
มะเขือพวง สรรพคุณ ทำให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุฯ ข่าสรรพคุณ แก้ท้องเสีย
ไล่ลมในท้องหรือมีอาการปวดมวนหรือแน่นจุกที่หน้าอก ท้องเฟ้อ
เวลากินอาหารมากๆจะไม่ท้องเสียหรือปวดท้อง
ใบของข่าสามรถใช้ตำหรือพอกหรือทาโรคผิวหนัง หิต กลาก เกลื้อน ได้เป็นอย่างดี ตะไคร้
สรรพคุณ นิยมใช้หัวนำมาคั่วไฟ แก้ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบาและยังใช้ใบมาย่างให้เหลือง
แก้อาการปวดท้อง ลมมากในลำไส้ บรรเทาอาการร้อนใน ริมฝีปากแห้ง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการปลูกผักสวนครัว
ด้วยปัญหาประชากรล้นเมืองอย่างในปัจจุบัน
ทำให้เราแทบไม่มีพื้นที่ปลูกพืชผักกันเท่าไหร่
แต่การซื้อหาผักในตลาดก็อาจไม่การันตีในความปลอดภัยจากสารเคมีได้เหมือนกัน
ดังนั้นการปลูกผักไว้กินเองจึงเป็นทางออกที่ดีของปัญหานี้ ประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการปลูกผักกินเองได้แก่
1.ได้ผักสดและดีต่อสุขภาพมากกว่า
เพราะตามปกติผักจะเสียวิตามินและเกลือแร่ทันทีที่ถูกเด็ดออกจากต้น
และเสียเพิ่มเติมในขั้นตอนการปรุงอาหารดังนั้นหากเราซื้อผักจากร้านข้างนอกที่ใช้เวลาขนส่งนานจนกว่าจะถึงมือเราผักเหล่านี้แทบไม่เหลือคุณค่าอาหารใดๆเลย
เราจึงต้องปลูกผักไว้รับประทานเองจะดีกว่า เพราะนอกจากจะกรอบอร่อยปลอดสารพิษ
เพราะความสดใหม่กว่าตลาด ยังลดการสูญเสียคุณค่าทางอาหารน้อยลงอีกด้วย 2.ได้ทำกิจกรรมกับเด็กๆที่บ้าน
เพราะการใช้ชีวิตแบบยุคสำเร็จรูปในปัจจุบัน แทบไม่เปิดโอกาสให้เด็กๆเรียนรู้ว่าผักต่างๆมาจากไหนหรือให้ประโยชน์อะไร
ซึ่งสามารถแก้ปัญหานี้ง่ายๆ
ด้วยการให้เด็กๆปลูกถั่วงอกหรือผักชนิดไหนก็ได้ที่สามารถปลูกที่บ้านจะทำให้เด็กอยากกินผักที่เขาปลูก
ซึ่งนั่นคือวิธีที่สามารถสอนให้เค้าเรียนรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพได้ 3.ไม่ต้องกังวลกับยาฆ่าแมลง เพราะผักที่ตลาดบางร้านอาจใช้ยาฆ่าแมลงแต่ถ้าเป็นผักที่เราปลูกเองจะปลอดสารพิษเพราะเราไม่ใช้ยาฆ่าแมลง
และยังได้ผักที่สดอร่อยอีกด้วย 4.ประหยัดเงินในกระเป๋า
แม้ว่าในเบื้องต้นเราจะต้องลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์
เพื่อปลูกผักในบ้านแต่รับรองว่าผลหลังจากการปลูกนั้นจะคุ้มค่าแน่นอน เพราะเราจะมีผักที่สดสะอาดปลอดภัยไว้กินที่บ้าน
โดยไม่ต้องไปซื้อผักที่ตลาดให้สิ้นเปลืองเงินในกระเป๋า
สามารถทำให้เราประหยัดเงินได้หลายบาทเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น